กิจกรรม The Regent of Soil


      หัวข้อการเรียนรู้ ชื่อว่า กิจกรรม The Regent of Soil เป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้ เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับดิน ผ่านการทำกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ จุดมุ่งหมายคือ ให้นักเรียนมีความรู้เรื่องดิน แต่ในการเรียนรู้อยากจะพัฒนาทักษะหลายๆทักษะไปด้วย เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยจะเอาทักษะ เหล่านี้เข้ามาประกอบกับการเรียนรู้เนื้อหานี้ 

     ช่วงแรกใช้กิจกรรมที่ดึงจินตนาการของนักเรียนออกมา ถ้านักเรียนได้ใช้ความคิดของ ตนเองในการทำงาน จะทำให้ นักเรียนมีสมาธิ มีใจจดจ่อกับการทำงาน จิตรับรู้ความรู้ ในสิ่งที่ทำ ขณะนั้น นักเรียนได้ใช้ความคิดของตนเองในการทำงานของตนเอง ส่วนนี้ครูคิดว่าเป็น การสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน 

     ในขั้นตอนแรกครูได้อธิบายให้นักเรียนทราบว่า หลังจากที่เรียนเรื่องนี้แล้ว ครูจะมีการ ประเมินนักเรียนอย่างไร คือจะมีการใช้ rubric ในการประเมินตรงนี้ แล้วครูก็อธิบาย rubric การประเมินให้นักเรียนเข้าใจ หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตัวของตัวเอง โดยให้นักเรียนคิดว่าเมื่อเรียนเรื่องนี้จบแล้ว จะสามารถบอกได้ว่ารู้อะไรบ้าง ได้อะไรจากความรู้นี้บ้าง ซึ่งอาจจะออกมาในรูปแบบของการสะท้อนความคิด และนำเอาแผนการของนักเรียนมาวิเคราะห์ ว่าแผนมีส่วนใดที่จะต้องเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ส่วนนี้ครูต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก ซึ่งดิฉันจะอาศัยเทคโนโลยีในการช่วยให้คำปรึกษากับนักเรียนนอกเวลาเรียน 

     การนำเสนอ โดยปกติจะให้นักเรียนออกมานำเสนอหน้าห้องเรียน แต่ตัวดิฉันคิดว่าน่า จะลองให้นักเรียนได้ผูกโยงเรื่องราวในสิ่งที่นักเรียนรู้ เช่น จากกิจกรรมปั้นดิน ให้นักเรียนสร้าง เรื่องราวจากรูปร่างสิ่งต่างๆที่นักเรียนปั้น นำมาทำเป็นละคร เป็นเนื้อเรื่อง เป็นนิทาน หรือครูอาจ กำหนดสถานการณ์ ว่าถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น นักเรียนจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร จากความรู้ ที่นักเรียนได้เรียนมา เอามาสร้างเป็นละคร แล้วนำมาแสดง ทำให้นักเรียนดึงความรู้เหล่านั้นออกมา ทำให้นักเรียนรู้ว่าตนเองรู้อะไร ไม่รู้อะไรและควรที่จะรู้อะไรเพิ่มเติมอีก ซึ่งจะเป็นการเสริม ให้นักเรียนอยากเรียนรู้ต่อไป อยากค้นคว้าสืบค้นในเรื่องเหล่านั้นต่อไป 

     เด็กในวัยนี้ อยากให้ครูทราบความรู้สึกของเขา เพียงแต่ว่าเราต้องให้โอกาส และเวลากับนักเรียนแล้วนักเรียนจะแสดงมันออกมา เมื่อนักเรียนรู้สึกสบายใจ เมื่อรู้สึกว่าในการเรียนครูเปิดโอกาสให้ มีหนึ่งกิจกรรมที่ดิฉันคิดว่าเป็นกิจกรรมที่ดี คือ การใช้ radar graph เป็นการให้นักเรียนประเมินตนเอง โดยครูจะบอกหัวข้อว่าจะให้นักเรียนประเมินอะไรบ้าง เช่น จินตนาการ, การคิดวิเคราะห์, การทำงาน เป็นต้น โดยที่นักเรียนจะให้คะแนนตนเองเป็นกลุ่ม ในแต่ละกลุ่มครูจะเตรียมกระดาษ เทปสี ให้นักเรียนเอามาติด แล้วครูก็ดูแนวโน้มว่า นักเรียนคิดว่า ตนเองมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ประเมินขนาดไหน แล้วก็ให้นักเรียนประเมินเพื่อนด้วยวิธีการ เดียวกัน นักเรียนของดิฉันเค้าจะประเมินตนเองต่ำกว่าความเป็นจริง ตัวดิฉันซึ่งเป็นครูก็บอกกับนักเรียนว่า นักเรียนมีศักยภาพเยอะมาก ที่ครูเห็นมาตลอดเวลาที่ทำ กิจกรรมนี้ แล้วนักเรียนจะประเมินเพื่อนสูงกว่าตนเอง ดิฉันจึง feedback กลับไปว่าการมองตนเอง บางทีนักเรียนมองตนเองในด้านลบ มองตนเองว่าไม่มีศักยภาพหรือไม่มีความสามารถ นักเรียนลองสังเกตว่าเวลานักเรียนมองคนอื่นนักเรียนจะประเมินได้สูงกว่าความเป็นจริงที่คนนั้น ประเมิน แท้จริงแล้วตัวเรามีศักยภาพ ให้เรารู้ว่าเราสามารถพัฒนาได้ เราสามารถไปถึงจุดไหนก็ได้ ถ้าเราตั้งใจ คนที่รู้ว่าเราเป็นอย่างไรก็คือตนเอง ก็เหมือนกับกรณีนี้ เด็กจะเป็นคนที่ประเมินตนเอง ได้ดีที่สุด ว่าเค้าเป็นคนแบบไหน เค้าคิดต่อตนเองอย่างไร ถึงแม้ว่า ครูจะคิดว่าเด็กคนนี้ ประเมินตนเองแบบนี้ไม่ถูกต้อง แต่เราต้องรู้ว่านั่นคือ ความคิดของเขา สิ่งหนึ่งก็คือ นักเรียนมีโอกาสที่จะพัฒนาได้ คือถ้าเค้าประเมินตนเองได้ระดับใดก็ตาม เค้ามีโอกาสที่จะรู้ มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองขึ้นไปให้สูงกว่าเดิม ครูอาจสะท้อนกลับให้เค้าเห็นว่า แม้เธอคิดว่าเธอดีที่สุด แต่หนทางในการพัฒนา เธอยังมีโอกาสพัฒนาตนเองได้เยอะมาก เพราะแท้จริงแล้วถ้ามนุษย์ไปตีกรอบตนเองว่าเราพัฒนาไม่ได้ เราก็จะหยุดอยู่แค่นั้น แต่ถ้าหากว่านักเรียนรู้ว่าตนเองอยู่จุดไหน ครูตั้งคำถามว่า เธอจะเดินไปยังจุดที่สูงกว่านี้ไหม ส่วนใหญ่เด็กก็ตอบว่าได้ พร้อมจะไป นี่แหละคือประโยชน์ของ rubric 

     บางครั้งการที่ครูหรือคนอื่นประเมินตัวนักเรียนว่าต้องพัฒนาตนเองเพิ่มอีก นักเรียนจะมีความรู้สึกไม่ยอมรับ แต่ถ้าตัวเองประเมินตนเอง เค้าจะยอมรับได้ง่ายขึ้น ที่จะพัฒนาตนเองต่อไป 

     กิจกรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรม “ส่งเสริมความสำคัญในตัวเด็ก” เด็กพอเค้ารู้ว่าตนเอง เป็นคนสำคัญ ได้คิดเอง ได้นำเสนอด้วยตนเอง มันจะปลุกความคิดหลายๆแบบ ขึ้นมาในตัวนักเรียน เค้าจะรู้สึกเหมือนเค้าเป็นผู้ใหญ่ มีคนเชื่อถือ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เด็กคิดเพิ่มขึ้น มากกว่าเมื่อก่อน การเรียนแบบเก่าเด็กจะคิดไม่เป็นหรือไม่กล้าใช้ความคิด ปัญหาของเด็กไทย คือ ไม่กล้าใช้ความคิด แต่พอครูเปิดโอกาส ให้นักเรียนคิดได้ ครูจะไม่บอกคำตอบ และสิ่งที่นักเรียนคิดไม่มีสิ่งใดที่คิดผิดเลย นักเรียนก็กล้าที่จะแสดงความคิด กล้าที่จะบอกครู ตรงนี้เป็นก้าวแรกของนักเรียนที่จะแสดงความคิดและความคิดของเขาเป็นความคิดที่ไม่ผิด นักเรียนกล้าที่จะนำเสนอความคิด ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลต่อจินตนาการ คือเด็กสามารถดึงเอา จินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ของตนเองที่อยู่ข้างใน ออกมา กล้าบอกผู้อื่น กล้าบอกครู และส่วนนี้จะเป็นประสบการณ์ชีวิตให้กับนักเรียน ว่าครั้งหนึ่ง เคยบอกความคิดที่แปลกๆให้กับคน คนหนึ่ง และคนนั้น ยอมรับเค้า คิดว่าส่วนนี้จะเป็นการจุดประกายให้เค้ากล้าบอกต่อ ต่อผู้อื่น กล้าที่จะทำงานที่มีความคิดสร้างสรรค์และกล้าที่จะนำเสนอให้คนอื่นรับรู้ต่อไป 

     แปลบทสัมภาษณ์นักเรียน
     ผมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน ดูความแตกต่างของดินแต่ละชนิดและทำกิจกรรมปั้นดิน เป็นรูปร่างต่างๆ 
     ปกติการเรียนแบบเดิม ครูก็สอนไปเลย แต่รูปแบบใหม่ เด็กได้ทำกิจกรรม มันได้ใช้ความคิด การเรียนแบบเดิมยึดความคิดครูเป็นหลัก แต่แบบใหม่ได้ใช้ความคิดของตนเอง ผมอยากให้จัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้ในหลายๆวิชา ให้สอนแบบนี้ให้มากขึ้น เพราะนักเรียนจะได้เข้าใจมากขึ้นในวิชาที่ตนเองเรียน

เอกสารประกอบ

- ไฟล์ 1
- เอกสารประกอบ


วีดีทัศน์ประกอบ


การประชุมแลกเปลี่ยน

วันที่ 2016-11-30 10:00:00 เข้าร่วม


แลกเปลี่ยนความคิดเห็น