กระบวนการเรียนการสอนหนึ่งของสพฐ QSCCS


      หลังจากที่ได้เครื่องมือจาก OECD และอบรมกับ OECD มาก็คิดว่า น่าจะศึกษาเทคนิคการเรียนการสอนที่จะมาเสริมความคิดสร้างสรรค์ได้ และก็เลยได้มีโอกาสได้รู้จัก กระบวนการเรียนการสอนหนึ่งของสพฐ QSCCS ที่น่าจะสอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและ Rubric ของ OECD จึงนำมาทดลองใช้ในวิชาศิลปะของตัวเอง และเริ่มกำหนด Theme เพื่อวางกรอบการเรียนรู้ จึงได้เป็น Theme ศิลปะกับดวงดาว แต่ยังไม่ได้วางแผนในรายละเอียดมากนัก มีเพียง Rubric ด้านความคิดสร้างสรรค์และสาระการเรียนรู้วิชาศิลปะที่คาดหวังจะให้เด็กได้ในกิจกรรมนี้ครูพยายามสร้างบรรยากาศให้เด็กเกิดคำถามความอยากรู้ อยากค้นหาด้วยการเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ได้คุยกับคนใหม่ ๆ ให้ไปในสถานที่ใหม่ ๆ จนเกิดความสงสัย เกิดความอยากรู้ โดยครูพานักเรียนเดินทางไปท้องฟ้าจำลองและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ซึ่งตรงนี้เด็กๆก็จะได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสนใจในเรื่องของดวงดาว 

     เมื่อกลับมาจากการออกไปเปิดประสบการณ์แล้วครูเองก็กลับมาพูดคุยกับเด็ก ๆ ชวนให้เด็กคิดและเริ่มหัดตั้งคำถามกับสิ่งที่ได้พบเห็นมาเด็ก ๆ มีคำถามของตัวเองที่อยากรู้และสนใจเต็มไปหมด เริ่มต้นครูก็ปล่อยให้เด็กๆ ลองค้นหาคำตอบด้วยตัวเองในเรื่องที่สนใจผ่านอินเตอร์เนต จากนั้นครูจะลองจับประเด็นว่าส่วนใหญ่เด็ก ๆ จะสนใจกันเรื่องอะไรก็จะนำมาหารือกับเด็กๆ จะนำเรื่องเหล่านั้นมาวางแผนกิจกรรมหรือไม่ โดยเบื้องต้น

          - เด็ก ๆ สนใจเรื่องตำนานดวงดาวที่ได้ฟังวิทยากรในห้องฉายดาวเล่าให้ฟัง
          - เรื่องจักรราศีต่าง ๆ

     ครูจึงเริ่มลงรายละเอียดในแผนงานและเตรียมกิจกรรมและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในการจัดการเรียนการสอน หลังจากที่วางแผนกิจกรรม ครูและนักเรียนก็เริ่มที่จะลงมือทำกิจกรรมสร้างชิ้นงานโดยตัวอย่างกิจกรรมแรกก็จะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับตำนานดวงดาวต่าง ๆ ที่เด็กๆไปฟังจากห้องฉายดาว ครูเองจะพยายามหาสื่อต่าง ๆ มาประกอบการจัดกิจกรรม เพื่อกระตุ้นจินตนาการให้แก่นักเรียนมากขึ้น อย่างเด็ก ๆ ได้ฟังเรื่องเล่าสั้น ๆ เกี่ยวกับกลุ่มดาวแอนโดรเมด้า กลุ่มดาวอสูรร้ายคราเคร่น กลุ่มดาวนักรบเพอร์ซิอุส และเมดูซ่า จากนั้นเด็ก ๆ ก็จะเริ่มวาดรูปที่อยู่ในจินตนาการ และอีกตัวอย่างหนึ่งจะเป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้เรื่องจักรราศี และได้ลงมือสร้างผลงาน ศิลปะของตัวเองตามจินตนาการ สิ่งสำคัญที่ว่าให้เด็ก ๆ รู้สึกสนใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่เป็นพิเศษ คือ เด็กในวัยนี้จะมีความสนใจในความเป็นตัวตนของตัวเอง ฉะนั้น ดาวประจำราศีเกิดก็เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของตัวเอง จึงรู้สึกตื่นเต้นที่ได้รู้จักและสร้างมันขึ้นมาด้วยตนเอง นอกจากนี้สิ่งที่ครูสังเกตได้ก็คือ เด็ก ๆ เริ่มที่จะหันมาสนใจ วัน เดือน ปี เกิด ของตัวเอง คนในครอบครัว เพื่อน และคนใกล้ชิดมากขึ้น หลังจากที่แต่ก่อนไม่เคยเลย ทุก ๆ การจบกิจกรรม การสร้างชิ้นงานต่าง ๆกระบวนการหนึ่งที่จะทำให้เด็ก ๆ ได้มีโอกาสที่จะฝึกการสื่อสาร คือ การนำเสนอชิ้นงานของตัวเองให้เพื่อนฟัง ซึ่งครูจะให้เด็ก ๆ มีเวลาคิด เรียบเรียงเรื่องก่อนที่จะนำเสนอผลงานของตัวเองอย่างไร ให้ ผู้ฟังเข้าใจในสิ่งที่ตนทำซึ่งมีเด็ก ๆ เค้าก็จะมีแรงจูงใจมากขึ้น ในการก้าวออกมาสื่อสารและส่วนใหญ่ก็มักจะทำได้ดี ก็มีบ้างบางคนที่อาจจะยังพูดไม่คล่องยังขาดความมั่นใจ เขินอาย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ในการที่จะต้องรวบรวมความกล้าออกมา ด้วยยอมรับว่าในชีวิตจริง ๆ เด็กจะต้องมีการสื่อสารและนำเสนอสิ่งต่าง ๆ แก่ผู้คนอยู่เสมอ

     กิจกรรมสุดท้ายเป็นกิจกรรม ส่งท้ายการเรียนการสอนด้วยการใช้เครื่องมือนี้ โดยครูทราบดีว่า เด็ก ๆ จะต้องได้รับการปลูกผัง ความมีจิตใจที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อยู่เสมอ ซึ่งในส่วนลึกของเด็ก ๆ ทุกคนมีสิ่งนี้ติดตัวอยู่แล้ว จึงไม่ยากเลยที่จะชวนเค้าทำอะไรสักอย่างให้เป็นประโยชน์กับอื่น ๆ บ้าง ครูจึงโยนคำถามไปแล้วกับเด็ก ๆ ว่า เราทำกิจกรรม ตั้งอย่างหลายอย่าง ก็ได้ความรู้ไปไม่มากก็น้อย แล้วเราอยากทำให้เป็นการสร้างความรู้ให้กับคนอื่นๆ ได้บ้าง ก็มีเด็ก ๆ ได้บ้าง ก็มีเด็ก ๆ เสนอว่า อยากอยากจะทำอะไรให้น้องอนุบาลเพื่อนอีกคนเลยเสนอว่า ทำโมบายดาวประดับห้องให้น้องอนุบาลดีกว่า คราวนี้ทุกคนก็เลยช่วงกันลงมือทำ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องสิ่งเล็ก ๆ แต่เด็ก ๆ ก็ดีใจมาก ๆ ค่ะ ที่ได้ใช้เรื่องตัวเองเรียนมาทำประโยชน์บ้าง

     นอกเหนือจากกระบวนการที่เล่ามาข้างต้น ระหว่างการเปลี่ยนผ่านแต่ละกิจกรรม ครูก็จะใช้ Rubric ที่สร้างขึ้นตามแบบฟอร์ม ของOECD ในการประเมินผู้เรียนเป็นระยะโดยอาศัยกระบวนการประเมินตัวเองของนักเรียน โดยกิจกรรมการประเมินตัวเอง ครูได้ดัดแปลงจากกิจกรรมการประเมินตัวเอง ครูได้ดัดแปลงจากกิจกรรมของ Mr.Paul ที่เดิมใช้การวิเคราะห์ Radar Graph ซึ่งอาจจะยากเกินไปสำหรับเด็ก 9 ขวบ เลยใช้วิธีง่าย ๆ คือ จับคู่ แล้วประเมินตัวเองให้เพื่อนข้าง ๆ ฟัง และมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้รับรู้ว่า ตัวเองอยู่ในระดับใดผ่าน การแสดงตัวบนเส้นระดับ หลังจากนั้นครูก็จะแนะนำเป็นกลุ่มย่อยอีกทีว่าการพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นจะมีเทคนิคอะไรบ้าง และครูเชื่อว่าสิ่งสำคัญในการใช้ Rubric นอกเหนือจากการให้นักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์ตัวเองแล้ว ยังเป็นการสร้างโอกาสให้ครูได้รับการฝึกฝนการให้ Feed back แก่นักเรียนในเชิงคุณภาพ ซึ่งนับว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ของครูมาก

     ….สำหรับครูถือว่าโชคดีมาก ๆที่ได้เข้าร่วมโครงการของ OECD นี้ และยังคิดว่าถึงแม้ต่อไปจะไม่ได้อยู่ในโครงการแต่ก็จะเอาวิธีนี้ไปใช้ต่อไปเรื่อย ๆ ในขณะที่เป็นครูอยู่ เพราะเราเห็นมากับตัวเองจริง ๆ ว่าเด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนรู้ มีความเติบโตทางความคิด และยังนึกต่อไปว่าอยากจะพัฒนาแบบฟอร์มบันทึกพัฒนาการของนักเรียนหรือแบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนในแบบฉบับของตัวเองมาใช้ควบคู่กับการประเมินด้วย Rubric ของ OECD จะได้มีข้อมูลพัฒนาการเด็กในหลาย ๆ มิติ

วีดีทัศน์ประกอบ


การประชุมแลกเปลี่ยน

วันที่ 2016-09-01 13:00:00 เข้าร่วม


แลกเปลี่ยนความคิดเห็น