โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่องไอศกรีมจากน้ำมะพร้าวโดยใช้สารกันบูดจากสมุนไพร ของนักเรียนโรงเรียนวชิรธรรมโศภิต จังหวัดเพชรบุรี


            มะพร้าว เป็นพืชพื้นเมืองของไทย ซึ่งบรรพบุรุษได้นำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของต้นมะพร้าวได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้สารพัดประโยชน์ เนื่องจากที่มาของปัจจัย 4 ได้แก่อาหารยารักษาโรค และที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่โบราณกาล โดยที่คนไทยไม่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพแต่ภายหลังน้ำมะพร้าวและกะทิเป็นไขมันประเภทอิ่มตัวถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจเพราะมีคอเลสเตอรอลสูงจึงมีการรณรงค์ให้บริโภคอย่างอื่นแทนมะพร้าวเพื่อลดจำนวนไขมันในเส้นเลือดและปัญหาโรคหัวใจ 
แต่ในปัจจุบันได้มีรายงานการวิจัยซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ตีพิมพ์ชี้ให้เห็นว่ามะพร้าวที่เคยถูกระบุว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจนั้นไม่เป็นความจริงอาหารไทยทั้งคาวหวานหลายชนิดในการปรุงอาหารมีส่วนประกอบของมะพร้าวนอกจากรับประทานอร่อยแล้วยังบำรุงสุขภาพและใช้บำรุงความงามได้อีกด้วย
สมุนไพรที่มีสรรพคุณใช้เป็นสารกันบูดมีหลายชนิดมากมายรอบตัวเราเช่นดีปลีขมิ้น ข่า โดย ข่าเป็นพืชที่มีสรรพคุณในการกันบูดได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆข่าเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่าเหง้าอยู่ในวงศ์ขิงเป็นไม้ล้มลุกเป็นสมุนไพรที่นำมาใช้ในการปรุงอาหาร
ข่าเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ด้านอาหารมากมายใช้ใส่ต้มข่าต้มยำน้ำพริกแกงส่วนมากจะใช้ข่าเป็นส่วนประกอบนอกจากข่าจะใช้ในการปรุงอาหารแล้วยังมีประโยชน์มากมายเช่นดับคาวและที่สำคัญยังมีประโยชน์ทางอุตสาหกรรมอาหารสามารถป้องกันการบูดเน่าการเหม็นหืนและอีกประโยชน์ที่อยู่กับคนไทยมาตั้งแต่เดิมคือคนไทยใช้เหง้ามาผลิตเป็นตำรับยาโบราณใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บมาเป็นเวลานานเป็นยารักษาโรคท้องเสียและโรคผิวหนังโรคกากเกลื่อนและสรรพคุณเด่นของข่านั้นคือเป็นสารกันบูดได้ดี
เนื่องจากในจังหวัดเพชรบุรีของเราเป็นเมืองขนมหวานและขึ้นชื่อเรื่องขนมหวาน ส่วนใหญ่ขนมต่างๆทำมาจากมะพร้าวและต้นมะพร้าวนั้นก็มีส่วนประกอบต่างๆที่นำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากคณะผู้จัดทำจึงคิดที่จะนำส่วนของน้ำและเนื้อมะพร้าวมาใช้ประโยชน์โดยจะผลิตเป็นไอศกรีมที่มีรสชาติของน้ำมะพร้าวและเนื้อมะพร้าวผสมอยู่ด้วยโดยทั่วไปน้ำมะพร้าวจะมีอายุประมาณ 2-3 วัน ไอศกรีมทั่วไปจะมีการใส่สารกันบูดเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์แต่สารกันบูดนั้นผลิตจากสารเคมีเมื่อสะสมมากๆจะเป็นภัยต่อร่างกาย
คณะผู้จัดทำจึงคิดที่จะนำข่ามาใส่เป็นสารกันบูดแทนสารกันบูดทั่วไปเพื่อให้ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาสมุนไพรในธรรมชาติที่สามารถเป็นสารกันบูดได้
2. เพื่อศึกษาการยืดอายุของน้ำมะพร้าวอ่อนหลังจากผสมสารกันบูดที่ทำจากพืชสมุนไพร

ขอบเขตของการศึกษา
น้ำมะพร้าวเนื้อมะพร้าวและข่ามาจากตำบลบางครกอำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี

วิธีการดำเนินงาน
1. ลงพื้นที่ศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่โรงน้ำตาลมะพร้าวสวนคุณมนตรี แสงจินดา
2. กำหนดหัวข้อของโครงงานที่ต้องการศึกษา
3. วางแผนการดำเนินงาน
4. ศึกษาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับน้ำมะพร้าวอ่อน
5. ลงมือปฏิบัติโครงงาน
6. สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทำให้น้ำมะพร้าวอ่อนมีประโยชน์มากขึ้น
2. การนำข่ามาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

เอกสารประกอบ

- ไอศกรีมจากน้ำมะพร้าวโดยใช้สารกันบูดจากสมุนไพร


การประชุมแลกเปลี่ยน

วันที่ 2017-07-07 09:30:00


แลกเปลี่ยนความคิดเห็น